วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

สัทพจน์ ( Onematoboeia )


สัทพจน์   ( Onematoboeia )
สัทพจน์  หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ  เช่น  เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น
ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ     ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ    ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
เปรี้ยง ๆ  ดังเสียงฟ้าฟาด     
ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
น้ำพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียงกังวาน 
มันดังจอกโครม จอกโครม  มันดังจอก จอก  โครม  โครม
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
อ้อยอี๋เอียง  อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น               



จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

นามนัย ( Metonymy )


นามนัย   ( Metonymy )
นามนัย  คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆ สัญลักษณ์   แต่ต่างกันตรงที่  นามนัยนั้นจะดึง เอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว  ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด 
ตัวอย่างเช่น
เมืองโอ่ง         หมายถึง         จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม       หมายถึง         จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง   หมายถึง         ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม    หมายถึง         ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง         อังกฤษ
ฉัตร              หมายถึง         กษัตริย์
เก้าอี้             หมายถึง         ตำแหน่ง
มือที่สาม        หมายถึง         ผู้ก่อความเดือดร้อน



                                                                                                                            จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

สัญลักษณ์ ( symbol )


สัญลักษณ์   ( symbol )
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป     
ตัวอย่างเช่น
เมฆหมอก       แทน    อุปสรรค
สีดำ              แทน    ความตาย  ความชั่วร้าย
สีขาว             แทน    ความบริสุทธ
กุหลาบแดง     แทน    ความรัก
หงส์              แทน    คนชั้นสูง
กา                แทน    คนต่ำต้อย
ดอกไม้           แทน    ผู้หญิง
แสงสว่าง        แทน    สติปัญญา
เพชร             แทน    ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ
แก้ว              แทน    ความดีงาม ของมีค่า
ลา                แทน    คนโง่ คนน่าสงสาร
ลา                แทน    คนพาล คนคด
สุนัขจิ้งจอก     แทน    คนเจ้าเล่ห์




จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

บุคลาธิษฐาน ( Personification )


บุคลาธิษฐาน   (  Personification )
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต   คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิตไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ  เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น  ต้นไม้  สัตว ์  โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์      
( บุคลาธิษฐาน  มาจากคำว่า  บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
ตัวอย่างเช่น
มองซิ..มองทะเล         เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
บางครั้งมันบ้าบิ่น       กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับไหล     ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
บางครั้งยังสะอื้น         ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป

ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ      ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
         
ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว   ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา      เชิดหน้าได้ดิบได้ด

เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง           พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ                   โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง



จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

อติพจน์ ( Hyperbole )


อติพจน์   Hyperbole )
อติพจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึกทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน   
ตัวอย่างเช่น
คิดถึงใจจะขาด  
คอแห้งเป็นผง 
ร้อนตับจะแตก  
หนาวกระดูกจะหลุด 
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
เอียงอกเทออกอ้าง      อวดองค์  อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง      เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง       จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม     อยู่ร้อนฤาเห็น
ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า  "อวพจน์"
ตัวอย่างเช่น
เล็กเท่าขี้ตาแมว
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
รอสักอึดใจเดียว


จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

ปฏิพากย์ ( Paradox )


ปฏิพากย์ ( Paradox )
                 ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม
หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สนุกฉิบหาย
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้ำร้อนปลาเป็น   น้ำเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น       รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ         ชนะเป็นมาร



จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30

อุปลักษณ์ ( Metaphor )


อุปลักษณ์  ( Metaphor )

               อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกันแต่เป็นการเปรียบเทียบ
สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเองที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น

                         ขอเป็นเกือกทองรองบาทา    ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย

                         ทหารเป็นรั้วของชาติ

                         เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด

                         เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์

                         ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

                         ครูคือแม่พิม์ของชาติ

                         ชีวิตคือการต่อสู้     ศัตรูคือยากำลัง


จัดทำโดย : นางสาว ณัฐธิดา เปี่ยมปฐม ม.3/3 เลขที่ 28
     เด็กหญิงสิริกร สุริยวงศ์ ม.3/3 เลขที่  30